วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

จดหมายสมัครงาน

นางนิชาลี  สุขสงบ
27/120 หมู่ 8 แขวงบางมด
เขตจอมทอง  กรุงเทพฯ 10180

15  กุมภาพันธ์  2556

เรื่อง     ขอสมัครงานผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด
เรียน     ท่านผู้จัดการฝ่ายบุคคล
สิ่งที่แนบมาด้วย      1.ใบรับรองการศึกษา
                                2.เอกสารประวัติโดยย่อ
                                3.รูปถ่ายจำนวน 2 ใบ

             ดิฉันได้ทราบจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์  ฉบับวันที่ 10 กุมภาพันธ์  2556 ว่าทางบริษัท เอไอซี จำกัด เปิดรับสมัครพนักงานตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด จำนวน 1 ตำแหน่ง ดิฉันมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งหากท่านจะกรุณาพิจารณาเลือกดิฉันไว้สำหรับตำแหน่งนี้ ประสบการณ์และประวัติการศึกษาของดิฉันที่ท่านอาจนำมาพิจารณาร่วมการตัดสินใจมีดังนี้ วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 2550 เกรดเฉลี่ย 3.50 มีประสบการณ์การทำงานทางด้านการตลาดบริษัทการบินไทยตั้งแต่ 2550 จนถึงปัจจุบัน มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษในระดับดี ทั้งการพูด ฟัง อ่าน และเขียน
     
               หากท่านจะกรุณาให้ดิฉันได้ชี้แจงลายละเอียดและตอบข้อซักถามต่างๆเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ของดิฉันจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

                                                              ขอแสดงความนับถือ

                                                           ........................................... .......
                                                           (นางนิชาลี    สุขสงบ)



บทความ ความผิดพลาดไม่ใช่แผลในชีวิต

ความผิดพลาดไม่ใช่แผลในชีวิต


          ตอนเป็นเด็ก ครูสอนศิลปะท่านหนึ่งสอนฉันเสมอว่าเวลาเราใช้ดินสอวาดภาพเราห้ามใช้ยางลบ

ตอนนั้นฉันไม่เข้าใจจุดประสงค์ของครูสักท่าไหร่ รู้แต่เพียงว่าเวลาฉันวาดภาพแล้วเส้นมันบิดเบี้ยว ฉันก็

อยากจะให้มันตรงสวย แต่ทุกครั้งที่ฉันหยิบยางลบขึ้นมาเพื่อจะลบภาพนั้น ครูของฉันก็บอกเสมอว่า

ห้ามใช้ยางลบสุดท้ายฉันจึงเลือกใช้วิธีต่อเติมภาพๆ นั้นไปตามจินตนาการแม้นตอนนั้นฉันยังไม่เข้าใจ

ว่าทำไมครูถึงไม่ให้ใช้ยางลบ แต่ฉันก็ได้ตามที่ต้องการ แถมยังภูมิใจว่าสามารถวาดภาพๆ นั้นด้วยความ

มั่นใจ และไม่ต้องใช้ยางลบลบภาพเลยสักครั้งเวลาผ่านไป ฉันโตขึ้น ฉันเรียนรู้ว่า สิ่งที่ครูสอนวันนั้น

แท้จริงแล้วมันปลูกฝังนิสัยหนึ่งให้กับฉัน นั่นคือ การเข้าใจธรรมชาติของความผิดพลาด ความผิดพลาด

เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตของทุกคน และในชีวิตหนึ่งก็มีหลายครั้งที่ฉันได้พบมันโดยไม่ตั้งใจ สิ่งหนึ่งที่ทำ

ให้ฉันยอมรับความผิดพลาดเหล่านั้น และรวบรวมสติเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ ก็คือ การที่ฉันเข้าใจว่า

ธรรมชาติของความผิดพลาดคือ การที่มันเกิดขึ้นแล้ว จะคงอยู่ถาวร ฉันไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ยางลบ

ลบความผิดพลาดแต่ฉันจำเป็นต้องใช้สมองต่อเติมแก้ไขภาพวาดของฉันให้สมบูรณ์ด้วยตัวเอง ดังนั้น

ถ้าความผิดพลาดมันเกิดขึ้นกับเราแล้วการที่เราจะมานั่งร้องห่มร้องไห้ อ้อนวอนขอแหกกฎเพื่อใช้

ยางลบกลับไปแก้ไขมันนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ สิ่งเดียวที่จะทำได้ก็คือ รู้จักพลิกแพลงแก้ไขสิ่งเหล่านั้น

ด้วยสติ และวาดภาพของตัวเองต่อไปด้วยความระแวดระวังมากยิ่งขึ้น ทุกคนมีดินสอหนึ่งแท่งเพื่อที่จะ

วาดภาพชีวิตของเราให้สวยงามแต่เราไม่มียางลบสักก้อนที่จะเอาไปลบสิ่งที่เราทำผิดพลาดมาแล้วได้

ดังนั้นเราต้องตั้งใจ และมีสติทุกครั้งที่ลากเส้น ถึงแม้ภาพที่เราวาดออกมาจะไม่เหมือนกับภาพที่เราฝัน

ไว้สักเท่าไหร่ แต่มันก็ออกมาจากมือของเราเราควรจะภูมิใจกับมันได้เสมอไม่ต้องกลัวหรอก แม้จะรู้ดีว่า

สักวันหนึ่งเราอาจลากเส้นบิดเบี้ยวไปบ้างเพราะถึงอย่างไร ฉันยังเชื่อว่าถ้าสมองและหัวใจของเราทำ

งานอย่างเต็มที่ภาพชีวิตเราก็งดงามได้โดยไม่ต้องใช้ยางลบ ดังคำกล่าวที่ว่า "ผู้ที่ไม่มีแผลเป็นคือผู้ไม่

มีประสบการณ์" หลายคนอาจคิดว่าความผิดพลาดคือแผลเป็นในชีวิตและอยากกลับไปแก้ไขแต่ความ

จริงแล้วความผิดพลาดคือเครื่องเตือนใจเราไม่ให้ทำผิดซ้ำต่างหาก อยู่ที่ว่าเราต่อเติมสิ่งที่ดูเหมือนเป็น

แผลเป็นในชีวิตให้ดีขึ้นหรือแย่ลงเท่านั้นเอง

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิเคราะห์และประเมินค่าคำประพันธ์"ทุกข์ของชาวนาในบทกวี"

ทุกของชาวนาในบทกวี

ผู้แต่ง                                              สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ลักษณะคำประพันธ์                       ร้อยแก้ว  ประเภทบทความจุดมุ่งหมายในการแต่ง                 เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน                                                         ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา
ความเป็นมา

       ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสงซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533  ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ  โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รุ่นที่ 41พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนาที่มีสภาพชีวิตไม่ได้แตกต่างกันนัก

     "เปิบข้าวทุกคราวคำ                           จงสูจำเป็นอาจิณ
                     เหงื่อกูที่สูกิน                         จึงก่อเกิดมาเป็นคน
          ข้าวนี้น่ะมีรส                                   ให้ชนชิมทุกชั้นชน
                           เบื้องหลังสิทุกข์ทน                และขมขื่นจนเขียวคาว
                 จากแรงมาเป็นรวง                          ระยะทางนั้นเหยียดยาว
                                 จากกรวงเป็นเม็ดพราว       ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
                         เหงื่อหยดสักกี่หยาด                       ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                             ปูดโปนกี่เส้นเอ็น               จึงแปรรวงมาเปิบกิน
                 น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                            และน้ำแรงอันหลั่งริน
                        สายเลือดกูท้งสิ้น                 ที่สูชดกำชาบฟัน"

เนื้อเรื่องย่อ
          เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงยกบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ซึ่งได้กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
          ต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทยทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีน  เมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่า  มิได้มีความแตกต่างกัน  แม้ในฤดูกาลเพาะปลูก  ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต  คือ  ชาวนาเท่าที่ควร  ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ  ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้จิตร  ภูมิศักดิ์และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอความทุกข์ยากของชาวนา  และทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกยุคทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่แตกต่างกันเลย

วิเคราะห์วิจารณ์
1. คุณค่าด้านภาษา
       กลวิธีในการแต่ง   ทุกข์ของชาวนาในบทกวี นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดที่ชัดเจน ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน  คือ
ส่วนนำ   กล่าวถึงบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ

 
 เนื้อเรื่อง  วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์ และของหลี่เซินโดยยกเหตุผลต่างๆ และทรงทัศนะประกอบ เช่น

 


 
   ... ชวนให้คิดว่าเรื่องจริงๆ นั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ ลำเลิก   กับใครๆ ว่า ถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่นๆจะเอาอะไรกิน...

 


 
 ส่วนสรุป   สรุปความเพียงสั้นๆ แต่ลึกซึ้ง ด้วยการตอกย้ำเร่องความทุกข์ยากของชาวนา ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหาเช่นนี้  ดังความที่ว่า

 


 
“… ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ  เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงยังจะเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป…”

 


 
  สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน  โดยทรงใช้การเปรียบเทียบวิธีการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน  ว่า
เทคนิคในการเขียนของหลี่เซินกับของจิตรต่างกันคือ  หลี่เซินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง

2. คุณค่าด้านสังคม
         สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงเริ่มต้นด้วยการยกบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ซึ่งแต่งด้วยกาพย์ยานี 11 จำนวน 5 บท  มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากของชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนทุกชนชั้น  พระองค์ทรงเห็นด้วยกับบทกวีนี้และยังทรงกล่าวอีกว่าเนื้อหาบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  สอดคล้องกับบทกวีของหลี่เซิน  กวีชาวจีนที่แต่งไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง  แสดงให้เห็นว่าสภาพชีวิตของชาวนาไม่ว่าที่แห่งใดในโลก  จะเป็นไทยหรือจีนจะสมัยใดก็ตาม  ล้วนแต่มีความยากแค้นลำเค็ญเช่นเดียวกัน



โชคดีที่วันนี้มีความสุข

 สิ่งที่ยังไม่เกิด ความคิดนี่แหละ
ที่บั่นทอนพละกำลังส่วนหนึ่งของความสุขที่ควรจะเกิด ควรจะมี ให้ลดน้อยลงไป
บางขณะ เราน่าจะทำชีวิตให้ดีกว่านั้นได้ง่ายๆ
แต่เพราะความคิด ความกังวล

ทำให้สิ่งที่น่าจะง่าย กลายเป็นสิ่งยุ่งยาก
ถ้าความคิดบางอย่าง ยิ่งคิด ยิ่งเศร้า ยิ่งทำให้กังวล
ยิ่งไม่มีความสุข ยิ่งหวาดกลัววันข้างหน้า ก็อย่าไปคิดมันเลย
แค่ทำวันนี้ให้มีความสุข ทำให้ดีที่สุดกับเวลานี้ที่มีโอกาสนี้...
บางที ใครจะรู้ว่า อะไรๆที่ไปกังวลนั้น อาจจะมาไม่ถึงก็ได้..

ชีวิตอาจไม่ยาวนานถึงขนาดนั้น
ไม่มีใครรู้ว่าพรุ่งนี้ จะตื่นหรือเปล่า
อย่ากังวลกับอะไรที่ยังมาไม่ถึง...
มองวันนี้ ทำวันนี้ มีความสุขกับทุกวินาทีนี้ .....
ที่ยังหายใจอยู่ดีกว่า เวลามีพอเสมอสำหรับความสุข .

ความทุกข์สร้างสิ่งมหัศจรรย์ ชีวิตที่พบความทุกข์ เป็นชีวิตที่แท้...
ไม่มีความทุกข์ก็ไม่มีการเติบโต
ความทุกข์เป็นพลังขับเคลื่อนให้หลายอย่างเกิด
ไม่มีใครไม่มีความทุกข์ เพราะนั่นคือการเป็นชีวิต
ความทุกข์สอนให้แต่ละคนเข้มแข็งในแง่มุมต่างๆ
ถ้าความทุกข์ไม่เข้ามาหา ก็จะไม่รู้ว่า ความสุขที่แท้เป็นอย่างไร
ไม่มีความทุกข์ ก็ไม่รู้จักความสุข......
เพราะความทุกข์พิสูจน์ความเป็นคน อ่อนแอ หรือเข้มแข็ง
ความทุกข์เป็นสิ่งท้าทายความสามารถ.....

ต่างจากความสุข ที่ทำให้อ่อนแอ มองโลกง่ายๆ แคบๆ
ความสุขเหมือนฝนพรำสาย
อ่อนโยน งดงาม บางเบา แต่ว่างเปล่า ไม่มีการเรียนรู้ใดในความสุข.......
เมื่อใดที่มีความทุกข์ ควรยิ้มรับ และคิดว่าโชคดีที่ได้เจอความทุกข์
ได้เรียนรู้การแก้ปัญหา ได้สงบ ได้สติ ได้ความนิ่ง ได้รู้จักโลก รู้จักตัวเอง
รู้จักการเติบโตทุกๆก้าว
ให้กำลังใจตัวเองมากๆ บอกตัวเองว่า

โเพราะเมื่อผ่านความทุกข์ ความสุขก็จะรออยู่เบื้องหน้า...
จงใช้ความทุกข์สร้างสิ่งมหัศจรรย์ให้กับชีวิต.ชคดีที่วันนี้มีความทุกข์
เหตุผลที่เลือก  อ่านแล้วรู้สึกดีทำให้เรามองโลกในแง่ดี มองเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้ เป็นกำลังใจให้ตนเองในวันที่ท้อแท้และสิ้นหวัง
ที่มา  http://www.google.co.th

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มงคล 38

การไม่คบคนพาล

อย่าคบมิตร  ที่เป็นพาล  สันดานชั่ว
จะพาตัว  เน่าดิบ  จนฉิบหาย
แม้ความคิด  ชั่วช้า  อย่ากล้ำกลาย
เป็นมิตรร้าย  ภายใน  ทุกข์ใจครัน

ท่านว่าลักษณะของคนพาลมี ๓ ประการคือ
   ๑. คิดชั่ว คือการมีจิตคิดอยากได้ในทางทุจริต มีความพยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ คือเห็นผิดเป็นชอบ
   ๒. พูดชั่ว คือคำพูดที่ประกอบไปด้วยวจีทุจริตเช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ
   ๓. ทำชั่ว คือทำอะไรที่ประกอบด้วยกายทุจริตเช่น การฆ่าสัตว์ ลักขโมย ฉ้อโกง ฉุดคร่าอนาจาร ประพฤติผิดในกาม
การจะเลือกคบใครก็ควรดูให้ดีก่อน เพราะถ้าหากเราเลือกคบคนผิดไปแล้วนั้นอาจจะทำให้ชีวิตของเราเกิดปัญหาได้ ดังคำกล่าวที่ว่า เพื่อนที่ดีจะพาเราไปยังสิ่งที่ดีๆ เช่นเดียวกันเพื่อนที่ไม่ดีก็จะพาเราไปในสิ่งที่ไม่ดี

การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

ควรบูชา  ไตรรัตน์  ขัตติเยศร์
ผู้วิเศษณ์  ก่อเกื้อ  เหนือเกศา
ครูอาจารย์  เจดีย์  ที่สักการ
ด้วยบุปผา  ปฏิบัติ  สวัสดิ์การ

การบูชา คือการแสดงความเคารพบุคคลที่เรานับถือ ยกย่อง เลื่อมใสในบุคคลคนนั้น ซึ่งการบูชาแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ
๑. อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของเช่น การนำเงินให้พ่อแม่ไว้ใช้จ่าย หรือมอบทรัพย์สินให้พ่อแม่ หรือการนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาพระก็ถือเป็นอามิสบูชาเป้นต้น
๒.ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการเจริญสมาธิภาวนา การฝึกจิตให้ไม่ฟุ้งซ่าน เห็นความจริงในความเป็นไปของโลกเป็นต้น
บุคคลที่ควรบูชา มีดังนี้คือ
๑.พระพุทธเจ้า (คงไม่ต้องอธิบาย)
๒.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า หมายถึงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
๓.พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม
๔.บิดามารดา
๕.ครูอาจารย์ ที่มีความรู้ดี มีความสามารถ และประพฤติดี
๖.อุปัชฌาย์ หรือผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม
การเคารพและบูชาบุคคลที่ควรบูชานั้นจะทำให้ชีวิตมีแต่ความเจริญรุ่งเรื่อง มีแต่สิ่งที่ดีๆเข้ามาในชีวิต

การให้ทาน

ควรบำเพ็ญ  ซึ่งทาน  คือการให้
ท่านว่าไว้  สวยงาม  สามสถาน
หนึ่งให้ของ  สองธรรมะ  ชนะมาร
อภัยทาน  ที่สาม  งามเหลือเกิน

การให้ทาน คือการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทนโดยหมายให้ผู้ได้รับได้พ้นจากทุกข์ แบ่งออกเป็น ๓ อย่างได้แก่
๑.อามิสทาน คือการให้วัตถุ สิ่งของ หรือเงินเป็นทาน
๒.ธรรมทาน คือการสอนให้ธรรมะเป็นความรู้เป็นทาน
๓.อภัยทาน คือการให้อภัยในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ดีกับเรา ไม่จองเวร หรือพยาบาทกัน
การให้ทานที่ถือว่าเป็นความดี และได้บุญมากนั้นจะประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการอันได้แก่ ๑.วัตถุบริสุทธิ์ คือเป็นของที่ได้มาโดยสุจริต ไม่ได้ไปยักยอกมา โกงมา หรือได้มาด้วยวิธีแยบยล
๒.เจตนาบริสุทธิ์ คือมีจิตยินดี ผ่องใสเบิกบาน ไม่รู้สึกเสียดายสิ่งที่ให้ ตั้งแต่ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้
๓.บุคคลบริสุทธิ์ คือให้กับผู้รับที่มีศีลธรรม ตัวผู้ให้เองก็ต้องมีศีลที่บริสุทธิ์
การให้ทานคือสิ่งที่ทุกคนควรมีควรปฏิบัติ เพราะการให้ทานนั้นไม่ใช่สิ่งยากเกินกว่าที่ทุกคนจะปฏิบัติ การให้ทานไม่จำเป็นต้องเป็นแค่ทรัพย์สินเงินทองหรือของมีค่า แค่เพียงรู้จักให้อภัยก็ถือว่าเป็นการให้ทานแล้ว