วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิเคราะห์และประเมินค่าคำประพันธ์"ทุกข์ของชาวนาในบทกวี"

ทุกของชาวนาในบทกวี

ผู้แต่ง                                              สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ลักษณะคำประพันธ์                       ร้อยแก้ว  ประเภทบทความจุดมุ่งหมายในการแต่ง                 เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน                                                         ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา
ความเป็นมา

       ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสงซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533  ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ  โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รุ่นที่ 41พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนาที่มีสภาพชีวิตไม่ได้แตกต่างกันนัก

     "เปิบข้าวทุกคราวคำ                           จงสูจำเป็นอาจิณ
                     เหงื่อกูที่สูกิน                         จึงก่อเกิดมาเป็นคน
          ข้าวนี้น่ะมีรส                                   ให้ชนชิมทุกชั้นชน
                           เบื้องหลังสิทุกข์ทน                และขมขื่นจนเขียวคาว
                 จากแรงมาเป็นรวง                          ระยะทางนั้นเหยียดยาว
                                 จากกรวงเป็นเม็ดพราว       ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
                         เหงื่อหยดสักกี่หยาด                       ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                             ปูดโปนกี่เส้นเอ็น               จึงแปรรวงมาเปิบกิน
                 น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                            และน้ำแรงอันหลั่งริน
                        สายเลือดกูท้งสิ้น                 ที่สูชดกำชาบฟัน"

เนื้อเรื่องย่อ
          เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงยกบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ซึ่งได้กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
          ต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทยทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีน  เมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่า  มิได้มีความแตกต่างกัน  แม้ในฤดูกาลเพาะปลูก  ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต  คือ  ชาวนาเท่าที่ควร  ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ  ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้จิตร  ภูมิศักดิ์และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอความทุกข์ยากของชาวนา  และทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกยุคทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่แตกต่างกันเลย

วิเคราะห์วิจารณ์
1. คุณค่าด้านภาษา
       กลวิธีในการแต่ง   ทุกข์ของชาวนาในบทกวี นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดที่ชัดเจน ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน  คือ
ส่วนนำ   กล่าวถึงบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ

 
 เนื้อเรื่อง  วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์ และของหลี่เซินโดยยกเหตุผลต่างๆ และทรงทัศนะประกอบ เช่น

 


 
   ... ชวนให้คิดว่าเรื่องจริงๆ นั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ ลำเลิก   กับใครๆ ว่า ถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่นๆจะเอาอะไรกิน...

 


 
 ส่วนสรุป   สรุปความเพียงสั้นๆ แต่ลึกซึ้ง ด้วยการตอกย้ำเร่องความทุกข์ยากของชาวนา ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหาเช่นนี้  ดังความที่ว่า

 


 
“… ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ  เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงยังจะเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป…”

 


 
  สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน  โดยทรงใช้การเปรียบเทียบวิธีการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน  ว่า
เทคนิคในการเขียนของหลี่เซินกับของจิตรต่างกันคือ  หลี่เซินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง

2. คุณค่าด้านสังคม
         สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงเริ่มต้นด้วยการยกบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ซึ่งแต่งด้วยกาพย์ยานี 11 จำนวน 5 บท  มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากของชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนทุกชนชั้น  พระองค์ทรงเห็นด้วยกับบทกวีนี้และยังทรงกล่าวอีกว่าเนื้อหาบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  สอดคล้องกับบทกวีของหลี่เซิน  กวีชาวจีนที่แต่งไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง  แสดงให้เห็นว่าสภาพชีวิตของชาวนาไม่ว่าที่แห่งใดในโลก  จะเป็นไทยหรือจีนจะสมัยใดก็ตาม  ล้วนแต่มีความยากแค้นลำเค็ญเช่นเดียวกัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น